โครงการการผลิต
และส่งเสริมการเลี้ยง“ไก่ลิกอร์” สู่เกษตรกรในภาคใต้
ไก่ลิกอร์ (Ligor Chicken)
มีที่มาจาก L=Low cholesteral, I=It’s delicious, Go= High growth rate, R= Rich vitamin and mineral เป็นไก่พื้นเมืองลูกผสมซึ่งมีอัตลักษณ์ตรงกับวิถีการเลี้ยงของเกษตรกรในพื้นที่ และการบริโภคของ ผู้บริโภค ทางภาคใต้ ซึ่งชื่อ “ลิกอร์” เป็นชื่อที่พ่อค้าชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น (สมัยรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่สอง) หรือเมื่อประมาณ พ.ศ. 2061 ซึ่งเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่ได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใช้เรียกตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช “ไก่ลิกอร์” จึงเปรียบเสมือนอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นภาคใต้ที่สามารถเชื่อมโยง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
โครงการประกอบด้วย
โครงการประกอบด้วย
ครบวงจรเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาชีพ
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง เมื่อวิเคราะห์กลไกตลาด กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย รายงานราคายางไตรมาสที่ 2/2563 โดยภาพรวมปรับตัวลดลง ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ย ณ ตลาดกลาง ยางพาราอยู่ที่ 37.97 บาท/กก. ปรับตัวลดลง 3.05 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 7.44 (กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย, 2563) ปาล์มน้ำมันมีราคาประมาณ 3.17 บาท/กก. ในขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กก. ราคาประมาณ 70 ถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ไก่เนื้อได้ราคาประมาณ กก.ละ 35 ถึง 40 บาท ดังนั้นเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้ ลดความยากจนของเกษตรกร จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพหลักเพิ่มเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี
โครงการประกอบด้วย
การเลี้ยงไก่ลิกอร์สู่การตลาดเชิงพาณิชย์
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง เมื่อวิเคราะห์กลไกตลาด กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย รายงานราคายางไตรมาสที่ 2/2563 โดยภาพรวมปรับตัวลดลง ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ย ณ ตลาดกลาง ยางพาราอยู่ที่ 37.97 บาท/กก. ปรับตัวลดลง 3.05 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 7.44 (กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย, 2563) ปาล์มน้ำมันมีราคาประมาณ 3.17 บาท/กก. ในขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กก. ราคาประมาณ 70 ถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ไก่เนื้อได้ราคาประมาณ กก.ละ 35 ถึง 40 บาท ดังนั้นเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้ ลดความยากจนของเกษตรกร จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพหลักเพิ่มเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี
โครงการประกอบด้วย
สำหรับห่วงโซ่อุปทานไก่ลิกอร์
เกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ และประมง อาชีพเหล่านี้มีความผันผวนทางรายได้เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกเช่น ฤดูกาล ราคาตลาด ปริมาณผลผลิต ทำให้เกษตรกรขาดรายได้บางช่วง เมื่อวิเคราะห์กลไกตลาด กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย รายงานราคายางไตรมาสที่ 2/2563 โดยภาพรวมปรับตัวลดลง ราคายางแผ่นดิบเฉลี่ย ณ ตลาดกลาง ยางพาราอยู่ที่ 37.97 บาท/กก. ปรับตัวลดลง 3.05 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 7.44 (กองวิจัยเศรษฐกิจยาง ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย, 2563) ปาล์มน้ำมันมีราคาประมาณ 3.17 บาท/กก. ในขณะที่ราคาไก่พื้นเมืองมีชีวิตมีความผันผวนต่ำ โดยไก่พื้นเมืองน้ำหนัก 1.5 กก. ราคาประมาณ 70 ถึง 120 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ไก่เนื้อได้ราคาประมาณ กก.ละ 35 ถึง 40 บาท ดังนั้นเพื่อลดความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและรายได้ ลดความยากจนของเกษตรกร จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพหลักเพิ่มเพื่อให้มีรายได้ตลอดปี การเลี้ยงไก่พื้นเมืองก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี
กิจกรรม
ดาวน์โหลด ”แอปไก่ลิกอร์” ได้ที่